คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาเกี่ยวกับการเขียนและอ่านสัญลักษณ์แสดงปริมาณของสิ่งของหรือจำนวนนับที่ไม่เกินหนึ่งร้อยและศูนย์ เป็นตัวเลขฮินดูอารบิก และตัวเลขไทย เปรียบเทียบและเรียงลำดับจำนวนนับไม่เกินหนึ่งร้อยและศูนย์คิดคำนวณ หาคำตอบจากการบวก ลบ และบวก ลบระคนของจำนวนนับไม่เกินหนึ่งร้อยและศูนย์ วิเคราะห์และหาคำตอบของโจทย์ปัญหา และโจทย์ปัญหาระคนของจำนวนนับไม่เกินหนึ่งร้อยและศูนย์ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ บอกความยาว น้ำหนัก ปริมาตรและความจุ โดยใช้หน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน บอกช่วงเวลา จำนวนวันและชื่อวันในสัปดาห์
โดยวิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา การใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ การให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผล การใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ในคณิตศาสตร์ จำแนกรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม รูปวงรี บอกจำนวนและความสัมพันธ์ในแบบรูปของจำนวน บอกรูปและความสัมพันธ์ในแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด หรือสีที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
เพื่อให้มีความคิดรวบยอด มีทักษะในการคิดคำนวณ มีเหตุผลในการแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้
มาตรฐาน ค ๑.๑ ตัวชี้วัด ค ๑.๑ (ป.๑/๑), ค ๑.๑ (ป.๑/๒)
มาตรฐาน ค ๑.๒ ตัวชี้วัด ค ๑.๒ (ป.๑/๑), ค ๑.๒ (ป.๑/๒)
มาตรฐาน ค ๒.๑ ตัวชี้วัด ค ๒.๑ (ป.๑/๑), ค ๒.๑ (ป.๑/๒)
มาตรฐาน ค ๓.๑ ตัวชี้วัด ค ๓.๑ (ป.๑/๑)
มาตรฐาน ค ๔.๑ ตัวชี้วัด ค ๔.๑ (ป.๑/๑), ค ๔.๑ (ป.๑/๒)
มาตรฐาน ค ๖.๑ ตัวชี้วัด ค ๖.๑ (ป.๑/๑), ค ๖.๑ (ป.๑/๒), ค ๖.๑ (ป.๑/๓),ค ๖.๑ (ป.๑/๔), ค ๖.๑ (ป.๑/๕), ค ๖.๑ (ป.๑/๖)
รวมทั้งหมด ๑๕ ตัวชี้วัด
หน่วยการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง จำนวนนับ 1-9 และ 0
รหัสวิชา ค 11101 รายวิชา คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่1 เวลา .....15...... ชั่วโมง
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
ตัวชี้วัด
มฐ. ค 1.1 ป.1/1 เขียนและอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทยแสดงปริมาณของ
สิ่งของหรือจำนวนนับที่ไม่เกินหนึ่งร้อยและศูนย์
มฐ. ค 1.1 ป.1/2 เปรียบเทียบและเรียงลำดับจำนวนนับไม่เกินหนึ่งร้อยและศูนย์
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมาย
ทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์
และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ตัวชี้วัด
มฐ. ค 6.1 ป.1/1 ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
มฐ. ค 6.1 ป.1/2 ใช้ความรู้ ทักษะ และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหา
ในสถานการณ์ต่างๆ ได้ อย่างเหมาะสม
มฐ. ค 6.1 ป.1/3 ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจและสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
มฐ. ค 6.1 ป.1/4 ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย
และการนำเสนอได้อย่างถูกต้อง
มฐ. ค 6.1 ป.1/5 เชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ
สาระสำคัญ
1. ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์แสดงจำนวน การเขียนและอ่านตัวเลขได้ถูกต้อง จะทำให้สื่อสารได้ถูกต้อง และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง
2. การเปรียบเทียบจำนวนทำให้ทราบว่า จำนวนคู่หนึ่ง เท่ากัน ไม่เท่ากัน มากกว่าหรือน้อยกว่ากัน
3. จำนวนต่างๆ นำมาเรียงลำดับจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อยได้
4. สาระการเรียนรู้/เนื้อหาสาระ
1. ความรู้ (K)
1. การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
2. การเขียน และการอ่าน ตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
3. การเปรียบเทียบจำนวน
4. การเรียงลำดับจำนวนไม่เกินห้าจำนวน
2. ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด (P)
การให้เหตุผล การจำแนก การสรุปความรู้ การจัดระบบความคิดเป็นแผนภาพ การปฏิบัติ
3.คุณลักษณะอันพึงประสงค์(A)/คุณธรรมที่นำมาบูรณาการ
มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน
การประเมินผลรวบยอด
1. ชิ้นงาน/ภาระงาน
1 ใบงานที่ 1 วิธีเขียนตัวเลข
2 ใบงานที่ 2 การเปรียบเทียบจำนวน
3 ใบงานที่ 3 การเรียงลำดับจำนวน
2. การประเมินผล
ใบงานที่ 1 วิธีเขียนตัวเลข
เกณฑ์การประเมิน | ระดับคะแนน | |||
4 (10 คะแนน) | 3 (9 คะแนน) | 2 (7-8 คะแนน) | 1 (5-6 คะแนน) | |
การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกตัวเลขไทยและคำอ่าน แสดงจำนวนนับ 1-9 และ 0 | เขียนตัวเลขฮินดูอารบิกตัวเลขไทย และคำอ่านแสดง จำนวนนับ 1-9 และ0 ได้ถูกต้อง ทุกข้อ ด้วยตนเอง | เขียนตัวเลขฮินดูอารบิกตัวเลขไทยและคำอ่านแสดง จำนวนนับ 1-9 และ0 ได้ถูกต้อง มีบางข้อที่ผิด แต่สามารถแก้ไขได้ ด้วยตนเอง | เขียนตัวเลขฮินดูอารบิกตัวเลขไทยและคำอ่านแสดง จำนวนนับ 1-9 และ0 ได้ถูกต้อง ด้วยตนเอง มีบางข้อผิด เมื่อมีผู้แนะนำ ก็สามารถ แก้ไขได้ | เขียนตัวเลขฮินดูอารบิกตัวเลขไทย และคำอ่านแสดง จำนวนนับ 1-9 และ 0 ได้ถูกต้อง แต่ต้องมี ผู้แนะนำทุกข้อ |
ใบงานที่ 2 การเปรียบเทียบจำนวน
เกณฑ์การประเมิน | ระดับคะแนน | |||
4 (10 คะแนน) | 3 (9 คะแนน) | 2 (7-8 คะแนน) | 1 (5-6 คะแนน) | |
การเปรียบเทียบจำนวนสิ่งของที่กำหนด | เปรียบเทียบจำนวนสิ่งของที่กำหนด ได้ถูกต้อง ทุกข้อด้วยตนเอง | เปรียบเทียบจำนวนสิ่งของที่กำหนด ได้ถูกต้อง มีบางข้อผิด แต่สามารถแก้ไขได้ ด้วยตนเอง | เปรียบเทียบจำนวนสิ่งของที่กำหนด ได้ถูกต้อง ด้วยตนเอง มีบางข้อผิด เมื่อมีผู้แนะนำก็สามารถแก้ไขได้ | เปรียบเทียบจำนวนสิ่งของที่กำหนด ได้ถูกต้อง แต่ต้องมี ผู้แนะนำทุกข้อ |
ใบงานที่ 3 การเรียงลำดับจำนวน
เกณฑ์การประเมิน | ระดับคะแนน | |||
4 (10 คะแนน) | 3 (9 คะแนน) | 2 (7-8 คะแนน) | 1 (5-6 คะแนน) | |
การเรียงลำดับจำนวนนับ 1-9 และ 0 | เรียงลำดับจำนวนนับ 1-9 และ 0 ได้ถูกต้องทุกข้อด้วยตนเอง | เรียงลำดับจำนวนนับ 1-9 และ 0 ได้ถูกต้อง มีบางข้อผิด แต่สามารถแก้ไขได้ ด้วยตนเอง | เรียงลำดับจำนวนนับ 1-9 และ 0 ได้ถูกต้อง ด้วยตนเอง มีบางข้อผิด เมื่อมีผู้แนะนำก็สามารถแก้ไขได้ | เรียงลำดับจำนวนนับ 1-9 และ 0 ได้ถูกต้อง แต่ต้องมี ผู้แนะนำทุกข้อ |
การจัดการเรียนรู้
1. ให้นักเรียนฝึกทักษะการจับคู่หนึ่งต่อหนึ่งโดยการจับคู่สิ่งของหรือภาพ แล้วสรุปความรู้
2. ให้นักเรียนฝึกนับจำนวนของสิ่งต่างๆ แล้วร่วมกันคิดสัญลักษณ์แทนจำนวนนับ จากนั้นฝึกเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย และคำอ่านแทนจำนวนนับ 1-9
3. ให้นักเรียนฟังนิทาน ตอบคำถาม เพื่อสร้างความคิดรวบยอดเกี่ยวกับศูนย์ (0) ฝึกเขียนและฝึกเล่าเรื่องเกี่ยวกับศูนย์
4. ให้นักเรียนจับคู่สิ่งของหรือภาพ เพื่อเปรียบเทียบจำนวนและฝึกการเปรียบเทียบจำนวนจากบัตรตัวเลขและจากสถานการณ์ต่างๆ
5. ให้นักเรียนสังเกตแผนภาพจำนวนนับ 1-9 แล้วเรียงลำดับจำนวนโดยใช้แผนภาพ
สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้
1. สิ่งของต่างๆ ได้แก่ ลูกอม หลอด แก้วน้ำ ไม้ไอศกรีม เงินเหรียญ ฝาจีบ น้ำอัดลม ซองจดหมาย ดินสอ ไม้บรรทัด สมุด ยางลบ โต๊ะ
2. กล่องเปล่า
3. บัตรภาพประกอบกิจกรรม
4. บัตรคำ บัตรคำสั่ง
5. บัตรตัวเลข
6. กระดาษเปล่า
7. ตารางบิงโก
8. สลากประกอบกิจกรรม
9. ป้ายนิเทศ
10. แถบโจทย์
11. ใบงานที่ 1-3
บล็อกของครูศรีแพร มีเนื้อหาสาระเป็นประโยชน์ต่อการสอนคณิตศาสตร์ค่ะ
ตอบลบ